K-19: The Widowmaker (2002) | ลึกมฤตยู นิวเคลียร์ล้างโลก | B
Director: Kathryn Bigelow
Genres: Drama | History | Thriller | War
K-19 เรือดำน้ำที่อยู่ระหว่างรีบเร่งการสร้างอย่างเร่งด่วนเพราะผู้นำของสหภาพโซเวียตต้องการใช้เป็นเรือทดสอบประสิทธิภาพเพื่อทดลองยิงขีปนาวุธ แต่กระนั้นกัปตันมิคาเอล โพเลนิน(Liam Neeson)กลับปฏิเสธและยืนยันว่า K-19 ยังไม่พร้อม ทำให้ต้องถูกกัปตันคนใหม่ที่ประสบการณ์มากกว่าต้องมาแทนที่และควบคุมเรือเสียเองโดยกัปตันมิคาเอล โพเลนินเป็นเพียงแค่รองกัปตันที่รับคำสั่งจากกัปตันอเล็กไซ ออสตริคอฟ(Harrison Ford)ที่ถูกตามตัวให้มาทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาเรือดำน้ำลำนี้
K-19 เดินทางออกจากท่าได้อย่างราบรื่น พร้อมกับการทดสอบสถานการณ์จริงเหล่าลูกเรือที่เข้มงวดจากกัปตันอเล็กไซ ออสตริคอฟตลอดเวลา แต่แล้วใครจะคิดล่ะว่าการเร่งสร้างเรือดำน้ำลำนี้จะเปี่ยมด้วยความเสี่ยง เมื่อเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ระเบิดล้างบางได้ตลอดเวลาที่ใช้เนพลังงานต้องชำรุด
นี่เป็นหนังที่สุดยอดจริงๆของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เป็นไปด้วยการเสียสละที่ยากลำบาก กับหนังเรื่องไม่ใช่หนังที่เต็มไปด้วยความมันส์แอ๊คชั่นล้างผลาญใต้น้ำ แต่เป็นความตึงเครียดของการเผชิญสถานการณ์สุดปัญหาที่เกิดจากข้อผิดพลาดตั้งแต่ต้นเรื่องที่ต่างมองว่าเป็นของเล็กๆน้อยๆ แต่พอถึงเวลากลับกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่พร้อมจะให้ความหายนะแก่ลูกเรือได้ทุกคน จะว่าตัวหนังเป็นไปได้อย่างมีพลังและเล่นเสียงและบทเกือบเวลา ทำให้ดูๆแล้วเหมือนตัวหนังจะไม่ทิ้งเวลาการพักเรื่องเลย มีแต่ช่วงนาทีเป็นนาทีตายที่อยากเอาใจช่วยตลอดเวลา พร้อมกับการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งกัปตันที่ดุเดือดกับการฝึกซ้อมจนไม่ได้พักไม่ได้นอน ซึ่งนั้นแหละคือสิ่งที่เห็นแล้วเหนื่อยแล้วเข้าใจทันทีว่าหน้าที่กับความรับผิดชอบเท่านั้นที่ขาดไม่ได้ โดยอย่างยิ่งคือสติและความรอบคอบที่ต้องคำนึงถึงตลอดเวลา จะเห็นว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้นมาจากความสะเพร่าของลูกเรือที่ทำหน้าที่ดูแลเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ไม่ได้คิดเอ่ะใจถึงตัววัดเข็มที่ชี้ผิดปกตินอกจากเคาะๆกระจกที่หน้าปัดเพราะคิดว่าคงไม่มีอะไรเกิดขึ้น แค่คิดว่าตัวเข็มอาจชี้ผิด จนเป็นเรื่องบานปลายเกินแก้ไขให้เรียบร้อยได้
เห็นหนังดูดีและเนียบแบบนี่ก็น่าจะมีกำไรงาม แต่เปล่าเลยครับ ถึงแม้จะได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ใช้ทุนสร้างสูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่มีรายได้เพียง 35 ล้านเหรียญสหรัฐในสหรัฐอเมริกา และ 30.5 ล้านเหรียญสหรัฐทั่วโลก นับว่าน่าเสียดายจริงๆกับหนังที่ทำเนื้อเรื่องได้สนุก ทั้งๆที่มี Liam Neeson กับ Harrison Ford ให้ความสนใจและน่าดึงดูดคนดูแล้วแท้ แต่หนังก็เจ้งไปซะแล้ว
หนังเรื่องนี้มีเนื้อที่อิงมาจากเรื่องราวเหตุการณ์จริงของเรือดำน้ำของโซเวียตที่ว่าด้วยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายในเรือเพราะปัญหาระบบเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกิดชำรุด ประสบอุบัติเหตุกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล เนื่องจากระบบหล่อเย็นชำรุด ขณะปฏิบัติการอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ดัดแปลงจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับเรือดำน้ำชั้นโฮเทล หมายเลข K-19 ที่ประสบอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1961
K-19: The Widowmaker ริเริ่มจากแนวคิดของแคทริน บิเกโลว์ ที่ต้องการสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับเรือดำน้ำ K-19 ลำนี้ การพัฒนาบทภาพยนตร์เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 โดยหลุยส์ นาวรา ผู้เขียนบทคนแรกได้เดินทางไปยังรัสเซีย เพื่อพบกับนาวาเอกนีโคไล ซาเตเยฟ ผู้บังคับการเรือ และนาวาเอกวลาดีมีร์ เยนิน ต้นเรือ ในปี ค.ศ. 1997 และพัฒนาบทฉบับร่าง ก่อนจะเปลี่ยนตัวผู้เขียนบทเป็น คริสโตเฟอร์ ไคลย์ ซึ่งได้เดินทางพร้อมกับบิเกโลว์ไปพบ และสัมภาษณ์ลูกเรือทุกคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ในปี ค.ศ. 1998 ชื่อตัวละครในเรื่องเป็นชื่อที่สมมุติขึ้น โดยบทผู้บังคับการเรือเปลี่ยนจาก นีโคไล ซาเตเยฟ เป็น อะเล็กเซย์ วอสตรีคอฟ รับบทโดยHarrison Ford บทต้นเรือเปลี่ยนจาก วลาดีมีร์ เยนิน เป็น โปเลนิน
Liam Neeson มารับบทเป็นกัปตันเรือที่โดนปลดให้ Harrison Ford แทน ในบทนี้จะต้องแสดงออกถึงความกล้าที่จะปกป้องลูกน้องที่เคยอยู่ร่วมกันมาของตน ขณะเดียวกันก็ต้องเจ็บช้ำเมื่อได้ทราบว่าตัวเองทำอะไรไม่ได้ดีพอที่จะเสนอหน้าชูเชิดให้รู้ว่าลูกน้องตัวเองมีประสิทธิ์และน่าเชื่อถือแค่ไหน เพราะความเข้มงวดแบบสุดขึงขลังของ Harrison Ford เล่นฉากของผู้มีอำนาจได้อย่างสมจริงสมจัง มีระเบียบนิ้วตลอดเวลา นั้นเพราะระบบคอมมิวนิสต์ที่ผู้นำเท่านั้นที่ถูกต้อง จะว่าแล้วทั้งคู่แสดงได้เชือดเฉือนกันจริงๆ
สิ่งหนึ่งที่เรื่องนี่ต่างจากความเป็นแอ๊คชั่นคือความเครียดที่ค้องใช้ไหวพริบตลอดเวลา ด้านเอฟเฟคไม่มีอะไรต้องห่วงเพราะเวลาดำเนินเนื้อจริงๆก็อยู่กันแค่ในเรือเจอแต่ปัญหาเฉพาะหน้า ช่วงไคลแม็กส์คือช่วงของหนังที่น่าขบคิดมากที่สุดถึงความรับผิดชอบ ที่ถ้าเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์จะระเบิดต้องลงทะเลให้ลึกที่สุดเพื่อไม่ให้เห็นการระเบิดเพราะใกล้ๆเป็นเรือของอเมริกัน ไม่อย่างงั้นอาจได้เกิดสงครามโลกอย่างแน่นอน และจุดที่น่าสงสารคือการช่วยเหลือซ่อมแซ่มเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ให้เย็นลง แต่กระนั้นจำต้องมีการเสียสละรับรังสีไปเต็มๆ เป็นฉากที่สะเทือนใจและน่าสรรเสริญกับลูกเรือที่เสียสละตนในการหยุดระเบิดจริงๆ ที่หนังมีเสนห์และหนักแน่นตลอดเพราะส่วนหนึ่งมาจากเพลงประกอบของ Klaus Badelt ที่ทำให้ดูเข้มข้นและสะเทือนคนดูแบบเอาลุ้นตลอดเรื่อง