The Possession (2012) | มันอยู่ในร่างคน
Director: Ole Bornedal
Genres: Horror | Mystery | Thriller
Grade: C+
ถูกเรียกขานว่าเป็น The Exorcist (1973) ฉบับของชาวยิวไปซะแล้วกับผลงานที่ติดชื่อผู้กำกับ Sam Raimi ที่สร้างผลงานเอาไว้เป็นที่รู้จักอย่างแน่นอนกับหนังชุด The Evil Dead และ Spider-Man ซึ่งนี้ไม่ใช่งานของเขาเพียงเป็นโปรดิวเซอร์ดีๆให้ที่เหมือนเป็นว่าชื่อของเขาจะโดดเด่นเกินจริง
เหตุผลที่ว่าเป็นหนังผี Exorcist นั้นเพราะมีพล็อตเนื้อเรื่องรายละเอียดที่คล้ายคลึงกันพอสมควร ที่แตกต่างคือที่มาของตัวผีที่ล้วนแล้วแต่ต้นกำเนิดและกับ The Possession เรื่องนี้ได้เสนอผีแบบปริศนาที่ไม่ใช่ชาติฝรั่งหรือแบบธรรมดาทั่วไปเนื่องจากมีที่มาเกี่ยวพันกับชาติยิวหรือที่เรียกว่า"ดิบบุค(Dibbuk or Dybbuk)"อันหมายถึงการยึดติดหรือยึดครองอยู่กับบางสิ่งอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องรับในสิ่งที่ต้องการนั้นมาครอบครองให้ได้เช่นเดียวกับการยึดร่างจนคนทั่วไปเรียกกันว่า"ถูกสิง" ถ้าเป็นเรื่องที่เกินจริงมีวิญญาณมาเกี่ยวก็จะเติมผีเข้าไปกลายเป็น"ถูกผีสิง"อย่างที่หลายคนเคยได้ยินว่าเป็นเรื่องเกิดจริง
เหตุการณ์ในหนังจะไปที่ครอบครัวของเบรเน็ค เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างไคลด์(Jeffrey Dean Morgan)และสเตฟานี่(Kyra Sedgwick)จบลงแบบไม่โรยกุหลาบ ไคลด์ต้องออกจากบ้านไปอาศัยข้างนอกเพียงคนเดียวและยังคงทำงานเป็นโค้ชบาสเก็ตบอลให้กับทีมประจำต่อไป ส่วนสเตฟานี่เริ่มเปิดใจกับทันตแพทย์หนุ่มที่เข้ามาในชีวิตของเธอ แต่หน้าที่ของพ่อแม่ยังคงอยู่ต่อที่ต้องมีหน้าที่ในช่วงสุดสัปดาห์ของการเลี้ยงดูลูกสาวทั้งสอง แฮนน่าห์(Madison Davenport ) และน้องสาวของเธอเอ็ม(Natasha Calis)มาพักอาศัยที่บ้านชานเมืองของไคลด์ เมื่อพ่อลูกได้แวะซื้อของที่แผงขายของเก่า เอ็มรู้สึกถูกชะตากับกล่องไม้โบราณจึงได้ขอพ่อซื้อมันมาด้วยที่ว่ามีความแปลก เมิ่อเวลาผ่านไปไคลด์พบว่าเอ็มมีพฤติกรรมแปลกประหลาดที่มักจะมีกล่องไม้โบราณติดตัวเธอไปในทุกที่ทุกเวลาจนต้องมีเรื่องร้ายตามติดไปด้วยจากเหตุผลที่ผู้จะคิดจะแยกเอ็มออกจากกล่องไม้ต้องประสบเคราะห์ และนับวันเอ็มยิ่งเปลี่ยนไปเรื่อยๆจนเริ่มไม่มีความเป็นคนตามปกติที่เดี๋ยวร้ายเดี๋ยวดีสลับไปมา ทำให้ไคลด์ต้องสืบค้นเรื่องราวเกี่ยวกับกล่องไม้นั้นจนรู้ว่าคือที่กักขังดิบบุค ปีศาจในตำนานของชาวยิวที่เข้าสิงร่างมนุษย์ และกัดกินดวงวิญญาณของผู้ใดก็ตามครอบครองมัน ไคลด์จำต้องหาทางช่วยเหลือเอ็มที่ตอนนี้เหมือนไม่ใช่ลูกสาวของพวกเขาอีกแล้ว
สร้างจากเรื่องเป็นคำโปรยอันดับหนึ่งถึงการเรียกผู้ชมว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาอย่างน่าเหลือเชื่อเช่นเดียวกับเรื่องราวของ The Exorcist ที่มีเด็กผู้หญิงเริ่มมีพฤติกรรมแปลกๆจนแม่ของตัวเองไม่สามารถควบคุมได้อีกต่อไปกลายเป็นความเชื่อที่ว่าอาจถูกผีเข้าจนต้องเรียกหมอผีมาทำพิธีกรรม เช่นเดียวกับหนังเรื่องนี้ที่กินพล็อตหากินทำนองเดียวกัน แต่จะอะไรเมื่อวิเคราะห์จับใจความดีๆที่บอกว่า The Possession สร้างจากเรื่องจริงนั้นคือการหยิบยืมเรื่องราวของกล่องไม้ที่น่ากลัวจากบทความ A Jinx in a Box ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ LA Times เมื่อปี 2004 ที่นอกเหนือจากนั้นก็ล้วนแล้วแต่ไอเดียการเติมแต่งด้วยความบันเทิงให้มีความสอดคล้องตามเรื่องเล่าให้สมจริงเช่นเดียวกับอีกหลายเรื่องที่ต้องสร้างความน่าสนใจ เริ่มกับตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่ามีลูกเล่นน่ากลัวหลายอย่างที่แสดงออกมาแบบลึกลับ เช่นตอนเอ็มกำลังเอาไฟฉายส่องปากแล้วมีนิ้วมือโผล่ออกมาอย่างน่าตกใจ
ด้วยความที่เป็นหนังกึ่งผีกึ่งหลอนด้านบรรยากาศทำให้สภาพที่เห็นของโทนคือความไม่น่าไว้วางใจที่ทำให้รอบตัว ไม่ว่าจะบ้านที่ไม่น่ามีปัญหา สถานที่ที่น่าจะเคยชิน กลายเป็นของเกินตัว ซึ่งรวมถึงสุนทรีภาพทางดนตรีประกอบที่มาเรียบๆนิ่งชวนสะดุ้ง ประกอบเสียงสวนมนต์ที่ฟุ้งไปด้วยศาสนาเข้ามาในบางช่วง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวช่วยเสริมเติมอารมณ์ให้ The Possession มีสภาพของความน่ากลัวที่ยึดแน่นมาตลอด ที่สำคัญคือโทนมีลักษณะคล้ายคลึงกับ Insidious (2010) ที่เป็นหนังผีขุ่นๆมัวๆทำนองผีสิงเช่นกันแต่มีความแตกต่างด้านที่มาของเนื้อเรื่องต่างๆ ส่วนที่ยังเหมือนกันตามสูตรคือการยกประเด็นครอบครัวมาใช้เพื่อทำให้เป็นเรื่องของครอบครัวที่เกิดเรื่องกับคนใกล้ตัวและง่ายในการทำเนินเรื่องให้เร็วถ้าจะทำได้ เว้นแต่ว่าจะกลายเป็นเรื่องที่เนียบเนียน
อาจจะมองว่ามีเนื้อเรื่องที่ค่อนข้างยังบังเอิญเหลือเกินไปบ้างเพราะถ้าไล่ระดับดูแล้วก่อนจะพิจารณาเอ็มต้องมองที่เรื่องราวความสัมพันธ์ในครอบครัวเบรเน็ตที่เรื่องราวเริ่มต้นมาจากการย้ายมาอยู่ของแฮนน่าห์และเอ็มจนไปได้กับกล่องปริศนาที่ซื้อได้จากการนำของเก่าในบ้านมาขายของคนข้างบ้านและคนๆนั้นคือเอ็มที่เลือกซื้อกล่องไม้ปริศนาใบนั้นมา ตัวหนังใส่เรื่องราวปัญหาชีวิตเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตครอบครัวที่กำลังแตกร้าวทีละนิด โดยสาเหตุนั้นเป็นไปได้ชัดเจนว่ามาจากไคลด์ที่มองข้ามรายละเอียดคนในรอบข้างมากเกินไปจากหน้าที่การงานที่ผู้เป็นพ่อให้ความสำคัญจนลืมแคร์ลูกๆที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเขาไป ซึ่งอันที่จริงตัวละครทั้งเรื่องไม่มีคนไหนที่เป็นคนไม่ดี รวมถึงไคลด์ที่ไม่ใช่คนเลวร้ายอะไร เพียงสิ่งที่สมควรดันไม่ยอมเติมเต็มซะเองจนเป็นช่องว่างที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจากความรักที่ลืมในบางสิ่งจนเกิดละเลยในครอบครัว ไม่ใช่ว่าจะเอาเรื่องผีมาให้จัดการอย่างเดียวแต่ต้องรู้จักจัดการตัวเองด้วย เมื่อเอ็มถูกบางอย่างทำให้เปลี่ยนไปคนที่เห็นว่าใช่ที่สุดคือไคลด์ที่จะทำหน้าที่ความเป็นพ่อด้วยการปกป้องลูกให้ถึงที่สุด
ยังไงก็ตามประสงค์อย่างหนึ่งคือการเล่าเรื่องของครอบครัวเบรเน็คที่ยังคลุมเครืออยู่เล็กน้อยจนบางครั้งบางคราวดูจะไม่เครียดกันเลยกับเรื่องแยกกันอยู่ ซึ่งอาจมองว่าเป็นอย่างนั้นก่อนจะมีการแก้ด้วยบทสนทนาการปลอบใจของเอ็มผ่านแฮนน่าห์ที่มองว่าเป็นพี่สาวคนหนึ่งที่มีประสบการณ์มากว่ากว่า แต่กระนั้นการวางบทบาทจริงๆคือการดำเนินเรื่องระหว่างสองตัวละครกับเอ็มและไคลด์ที่นอกเหนือจากนี้จะมาเข้าร่วมเนื้อเรื่องได้จืดจางพอสมควร แม้จะตอนจบจะใส่ตัวละครให้ได้หมดก็ยังให้ตัวละครออกมาเด่นได้ไม่หมดอยู่ดีรวมถึงหมอผีที่มาไล่ผีง่ายๆเพราะเห็นใจ จากอันที่จริงมีการพูดคุยกับพวกผู้ใหญ่ที่อาวุโสกันมาก่อนแล้วว่าจะไม่ทำเมื่อรู้ว่าผีร้ายตัวนั้นคือดิบบุคที่ได้เข้าสิงร่างเอ็ม ซึ่งคนที่รับหน้าที่อาสามาช่วยไล่ยังเรียกได้ไม่เต็มปากว่ามีประสบการณ์มากแค่ไหนนอกจากการรับงานแบบลับหลัง
สิ่งหนึ่งที่ทำให้มองว่าหนังมีเรื่องกระชับเหลือเกินคือการเข้าช่วงไคลแม็กซ์ที่รวบรัดเร็วเกินไปจนมองว่าสั้นในตอนจบที่มีข้อเสียในการจัดแจงพลังอำนาจของดิบบุค ต้องเรียกว่าขัดใจพอสมควรที่การแสดงพลังอำนาจต่างๆของดิบบุคนั้นจะถูกบังคับหรือจงใจจนขัดความเป็นจริงในหนัง ดูเหมือนจะมีความไม่สมเหตุสมผลในส่วนของพลังอำนาจต้องลองมาสังเกตเอาที่ตัวละครต่างๆที่โดนผีร้ายเล่นงานที่เดี๋ยวเกือบตายเดี๋ยวตกใจจนผวาหนีหายไป ถ้าลองสังเกตอีกอย่างให้ดีคือตัวเอกยังไงต้องเป็นตัวเอกมีกฏว่าความตายก่อนอันควร และเป็นแบบนั้นจริงๆจนหนังจบ เมื่อมีอะไรมาขัดขวางหรือต่อต้านมักจะถูกเล่นงานจนบาดเจ็บหรือเสียชีวิตกันไปซึ่งมักไม่ใช่ตัวละครหลักอะไรในเรื่อง เว้นแต่ไคลด์และคนครอบครัวหรือแม้กระทั่งบาดหลวงชาวยิวที่มาช่วยขับไล่ผีในตอนท้ายที่เกิดเป็นว่าความรุนแรงความอาถรรพ์ลดน้อยลงไปผิดกันคนละเรื่อง จากจุดนี้แสดงให้พบเห็นแล้วว่าตัวละครเกิดมามีขอบเขตที่รั้งอยู่หรือคล้ายๆกับการไปบ้านผีสิงที่ใครจะโดนเล่นงานเมื่อไหร่ก็ยังได้แต่ต้องไม่ใช่ตัวเอกของเรื่องเด็ดขาด กับ The Possession ก็พอกันกับพฤติกรรมนี้ทั้งที่คนที่ใกล้ชิดที่สุดสมควรมีโอกาสตายสูงกว่าเห็นๆโดยอย่างยิ่งคนในครอบครัวที่อยู่ในบ้านเดียวกัน
ฉากน่ากลัวที่มาประปรายแล้วนอกจากนั้นเป็นการติดตามชีวิตของเอ็มและไคลด์ที่เป็นตัวเอกในการดำเนินหลักจึงไม่มีอะไรซับซ้อนเพราะสิ่งที่เห็นคือเรื่องที่ถูกต้องที่สุด ไม่มีการหักมุมเรื่องความเชื่อนอกจากการสืบเรื่องกล่องไม้ปริศนาที่ไม่รู้ว่าคืออะไรก่อนจะเป็นดิบบุคหรือผีวิญญาณร้ายกาจจากตำนาน เพราะอารมณ์ที่ไม่สุดทำให้ผู้ชมต้องรู้สึกค้างคาได้แน่นอน ยิ่งกับช่วงท้ายของเรื่องแล้วแม้จะพยายามจัดความระทึกให้ลุ้นมากแค่ไหนก็ยังสั้นไปอยู่ดี สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือการไล่ผีด้วยวิธีการเรียกชื่อของดิบบุคที่ต้องหาความจริงให้เจอ ดูเป็นเรื่องยากเพราะถ้าไม่รู้ชื่อก็ช่วยไม่ได้ พอรู้แบบนี้หนังเลือกจัดทักษะของหมอผีอย่างรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ รู้ชื่อของดิบบุคได้แบบไม่เสียเวลาซะเล็กน้อย หรือจะเรื่องบทสวดที่มาน้อยนอกจากเรียกชื่อของดิบบุคผิดกับเรื่อง The Exorcist ที่จัดประโยคในคำภีร์ไบเบิ้ลมาให้ฟังกันไม่น้อยจนความสมจริงสมจังมีสูงทำให้หลายคนกลัวได้
ที่ชอบคือบรรยากาศในโรงพยาบาลที่สร้างความน่ากลัวได้น่าพอใจโดยเฉพาะตอนตรวจร่างกายที่ค่อยๆโผล่ความน่ากลัวทีละน้อยอย่างบรรจง และอีกฉากคือตอนไล่ผีที่มาแบบโล่งๆโทนหลังมีขาวๆตามด้วยอำนาจลมที่แสนวุ่นวาย ซึ่งมีมือโผล่จากปากมาจับหน้าเอาไว้ที่ตรงนี้เป็นเอกลักษณ์เด็ดของหนังเลย ทั้งนี้การแสดงในเรื่องต้องยกนิ้วให้กับ Natasha Calis ในบทได้อย่างน่าพอใจ เวลามาดธรรมดาดูเป็นเด็กน่ารักตามประสาทั่วไปที่มีชีวิตความเป็นสุขในครอบครัว พอตั้งแต่ได้กล่องไม้มาการแสดงเริ่มเปลี่ยนบุคลิกเรื่อยๆจนผู้ชมอย่างเราเริ่มเห็นว่าเอ็มเปลี่ยนไปจากเริ่มรู้สึกผิดปกติควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้กลายเป็นถูกควบคุมอย่างสมบูรณ์ที่แสดงอัปกิริยาผิดกับช่วงแรกราวกับคนละคน และไคลด์ แสดงโดย Jeffrey Dean Morgan ที่มาได้ดีไม่มีปัญหาข้อใดเช่นเดียวกับนักแสดงคนอื่นๆที่พยายามแสดงให้รอดตลอดรอดฝั่ง รับประกันได้ว่าต้องมีหลายคนที่ชอบการแสดงของหนู Natasha Calis ชัวร์
นับว่าไม่เลวสำหรับ Ole Bornedal ที่สร้างงานน่าพอสนใจบ้างที่ทำให้เห็นกระบวนการเล็กๆของ Sam Raimi ที่เอาสะใจเป็นทุนเดิม ซึ่งก็พอกันกับเรื่องนี้ที่สามารถเปิดโอกาสตัวเองด้วยสร้างตอนจบที่มานิ่งเงียบอันแสนผิดหวังและหดหู่ได้แต่ไม่ถึงสะใจแต่อย่างใด