Donnie Darko (2001) | ดอนนี่ ดาร์โก
Director: Richard Kelly
Genres: Drama | Mystery | Sci-Fi | Thriller
Grade: A
"อ้าวนี่คือหนังไซไฟด้วยเหรอ"
โดยส่วนตัวเป็นคำถามแรกที่เกิดกับตัวเองอย่างคาดไม่ถึงด้วยเหตุผลที่ว่ามีการเล่นกับเวลา ทีแรกหนังก็เกริ่นเป็นนัยๆอยู่แล้วกับวิทยาศาสตร์ที่ดอนนี่ (Jake Gyllenhaal) อยากรู้นักรู้หนากับการเดินทางผ่านด้วยเวลา ซึ่งในความเห็นส่วนตัวการจบแบบนั้นเท่ากับตัวหนังประสบความสำเร็จจากการเป็นเอกเทศ มีความเป็นตัวเองที่ค่อนข้างสูง เริ่มจากสิ่งที่น่าขบขันที่มองว่าอาจเป็นตลกร้ายเรื่องส่วนเครื่องบินตกใส่ห้องของดอนนี่ แต่ดอนนี่กลับไม่ได้อยู่ที่ห้องของตัวเองด้วยซ้ำ เพราะเขาไปนอนหลับอยู่ที่สนามกอล์ฟที่เกิดจากโรคประจำทางจิต หรือที่ว่าการนอนละเมอ คิดว่าเด็กคนนี้โชคดีแค่ไหนที่ตัวเองไม่ได้อยู่ในห้องที่ถูกส่วนของเครื่องบินลงมาทับตาย แต่ก่อนหน้านั้นเขาละเมออะไรของเขากันน่ะถึงเห็นคนส่วมชุดกระต่ายที่คอยอยู่หน้าบ้านแล้วบอก"28 วัน 60 ชม. 42 นาที 12 วินาที โลกแตก" ใครจะเชื่อว่าโลกแตก แล้วถ้าไม่ใช่โลกแตกเวลาที่เหลือดังกล่าวกำลังบอกอะไรเราอย่างนั้นรึ
Donnie Darko มีการดำเสนอเรื่องราวแบบต้นทุนต่ำ ไม่มีฉากเอฟเฟคตระการอย่างที่เป็นในแนวไซไฟ นอกจากลูกเล่นเล็กๆน้อยๆที่ได้เพิ่มปรุงแต่งเข้ามาเกี่ยวกับรูหนอนที่คล้ายสไลม์งอกออกมาจากหน้าท้อง ซึ่งมีเพียงดอนนี่ที่เข้าใจและเห็นการทำงานของระบบนี้อย่างดี โดยสิ่งเหล่านี้คล้ายตัวบอกอนาคตของช่วงเวลาที่เกิดขึ้นว่าจะทำอะไรไปที่ไหน ซึ่งก็กลายเป็นจุดน่าสนใจอีกเรื่องราว ตัวหนังค่อนข้างออกแนววัยรุ่น มีการวางหมากทีละชั้นจากเรื่องสังคมตลอดจนวางรากฐานของครอบครัวจากคนภายใน รวมถึงพฤติกรรมที่ไม่ปกติอันเป็นเหตุที่มองว่าเรื่องนี้มีจุดกึ่งฝันกึ่งจริง จากโรคประจำตัวของดอนนี่ที่ต้องรักษาด้วยจิตแพทย์บ่อยครั้ง แต่เพราะความไม่หนักหนาของอาการเขาจึงยังไปต่อได้กับโลกกว้างข้างนอกในสังคมที่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เขาได้เข้าเรียนเหมือนเด็กคนอื่นๆ เขามีความปกติอยู่เสมอ และอยู่ร่วมกับคนกลุ่มอื่นได้อย่างไม่มีปัญหา เว้นแต่ความมั่นใจของตัวเองที่เริ่มมุทะลุมากขึ้นจากการแสดงวิธีที่คิดว่าเหมาะสมยิ่งกว่า และการทำในสิ่งที่ควรปล่อยไปในเชิงการวิจารณ์แบบเสียๆหายๆจากเรื่องที่กำลังยอมรับกลายเป็นตัวแปลกแยกที่กำลังบอกถึงข้อลบเรื่องนั้นๆ ตัวหนังไม่ได้บอกหรอกว่าเมื่อก่อนดอนนี่เคยเป็นคนแบบไหนมาก่อน จะมีแต่นิสัยของเขากับอาการแย่ๆของเขาที่เริ่มจะเกินความจริงมากขึ้นทีละนิดจากการศึกษาเรื่องปรัชญาการท่องอวกาศที่อธิบายเรื่องราวที่ดอนนี่เองก็อยากได้ แต่ยิ่งเขาเรียนรู้เพื่อหาคำตอบมากเท่าไหร่ความจริงอันซับซ้อนก็เริ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว
สิ่งที่มองจากระยะแรกของหนังของการบอกถึงสถานะครอบครัวที่มีความสบายที่ไม่พะวงในตัวดอนนี่มากนักซ้ำยังคิดว่าเป็นเรื่องปกติของตัวเขา ด้วยความคิดและการกระทำอันสุดโต้งจึงมองว่าหลายสิ่งหลายอย่างเป็นอิสรภาพของบุคคลที่ควรไม่ให้ใครมาสั่งสอนด้วยวิธีการของผู้ใหญ่ที่เหมือนตัวเองกำลังควบคุมนักเรียนด้วยการสะกดประมาณนั้น เราเห็นสังคมที่กำลังอยู่ในสภาพของความเสื่อมทางการแสดงอารมณ์ออกมา รวมถึงความเป็นหลักเป็นเกณฑ์ของสังคมที่เริ่มด้วยการปลูกสำนึกด้วยสื่อโฆษณาจากทีวีที่เกิดอาจารย์เลื่อมใสในวิธีการนี้อันเป็นเหตุให้อยากให้นักเรียนได้ลองดูบ้าง จึงเปิดทีวีให้ดูจึงรายการขจัดความกลัว หรือการควบคุมอารมณ์ออกมาให้อยู่ในการควบคุม หลายคนมองว่าเป็นสื่อโฆษณา หลายคนมองด้วยความศรัทธา แต่ดอนนี่เปล่าคิดถึงเช่นนั้น เขาเลือกจะเป็นตัวของตัวเอง และพร้อมจะหักหน้าด้วยคำตอบจากใจของเขามากกว่าจะบอกด้วยแถบอารมณ์ที่สอนกันมาที่สุดื้ายหลงงมงายด้วยการสอนเพียงสองอารมณ์เท่านั้น โดยบอกว่าเป็นอารมณ์ที่ลึกที่สุดที่มีความกลัวกับความรัก แล้วใครจะทำอะไรด้วยสองอารมณ์เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งใครจะเชื่อได้ ดอนนี่ก็คิดแบบนั้น เขาอ่านประโยคสั้นๆที่หน้าชั้นเรียน เขาอ่านถึงผู้หญิงคนนึงที่เจอกระเป๋าสตางค์ แล้วคืนกระเป๋าตามที่อยู่บนใบขับขี่ แต่เก็บเงินเอาไว้ ก่อนที่อาจารย์จะให้ตัดสินเอาว่าเป็นความกลัวหรือความรัก แน่นอนว่าดอนนี่ที่มีความเอาจริงกับหลายแง่มุมทำให้เขาไม่สามารถบอกถึงข้อเท็จจริงของประโยคนั้นได้ว่าควรเป็นช่วงอารมณ์ไหน ที่สำคัญใครจะทำอะไรก็ล้วนเป็นการตัดสินด้วยอารมณ์ของคนนั้นๆ แล้วเราจะบอกได้ไงว่าเขาใช้อารมณ์ส่วนนี้ในการตัดสินใจ ที่สำคัญอารมณ์มีมากมายหลากหลายแล้วจะบอกว่ามันเป็นความกลัวที่คืนกระเป๋าสตางค์หรือความรักที่อยากได้เงินกันล่ะ
การเรียนการสอนถูกปฏิรูปกลายเป็นมาตราการจากหัวคิดของผู้ใหญ่ที่ศรัทธาในกฎระเบียบควบคุมความกลัว อย่างที่กล่าวข้างต้นว่ามีหลายสิ่งถูกทำให้ก้าวข้ามจากเรื่องปกติให้เป็นไปตามแผนชักจูง โดยการชักจูงจะเริ่มต้นได้ดีจากการสอน และการสอนนี่แหละที่ทำให้การเรียนรู้เป็นผลลัพธ์ออกมาอย่างผิดกับสังคมที่ผิดเพี้ยนจากเอาสิ่งที่ดีออกไปเพราะเหตุผลของเชื่อในสิ่งที่แน่วแน่แต่ไร้หลักการ ตอนท้ายของเรื่องเราจะเห็นได้ถึงอาจารย์อีกคนที่ถูกไล่ออกกับแนวทางมุ่งมั่นกับการสอนที่อยากให้นักเรียนมีหัวคิด หรือจะเด็กผู้หญิงอ้วนที่ดูเหมือนมีความเกี่ยวข้องดอนนี่อยู่ห่างๆ แต่กลายเป็นตัวตลกในสายตาหลายคน ความเป็นไปของพวกเขาเหล่านี้คือความพ่ายแพ้ต่อความจริงที่เป็นอยู่ เมื่อสังคมยอมรับอีกอย่าง การจะเป็นไปอีกอย่างไม่ต่างอะไรกับการก่อเรื่องต่อต้านไปในตัว ดังนั้นแก่นสาระที่จะบอกคือความเป็นรูปแบบรูปธรรมของลัทธิบริโภคนิยมที่มาจากผู้สอนก็ว่าไปตามน้ำ หรือจะรายการทีวีที่เอาอย่างไปกับเขาด้วย สุดท้ายเรามีอะไรบ้างนอกจากชีวิตของเราเอง แต่จะเรียกว่าชีวิตของเราได้เต็มปากหรือเปล่าถ้าพวกผู้ใหญ่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการมากกว่าจะให้เสนอคิดกับเส้นทางชีวิต คนที่เป็นหุ่นเชิดคือพวกเราซะเอง
สุดท้ายหนังเรื่องนี้ก็พร้อมจะกัดจิกสังคมได้เสมอ แม้จะไม่หนักหน่วงถึงขั้นเสียดสีแบบเสียๆหายๆ ทว่ามันก็จริงของหนังที่บอกว่าโลกนี้มีการใช้ศีลธรรมกันไม่ถูกความหมาย นอกจากการกัดจิกสังคมแล้ว การแยกแยะความกลัวกับความรักก็มีได้เป็นสองฝ่าย ถ้าจะลองหยิบยกมาแค่สองอารมณ์เพียงอย่างเดียวตามรูปพจน์ของเรื่องราวอาจจะได้ว่าตัวหนังกำลังมีความกลัวจากความรักของตัวเอง เริ่มจากดอนนี่ที่รอดตายจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกใส่ห้อง ทำให้ภายหลังเขาเปลี่ยนไปอีกบุคลิกเป็นคนที่สุดโต้งทางความคิดที่ฟุ้งซ่านด้วยเรื่องของมิติ พอหลังจากนั้นเขาเองดูเหมือนจะค้นคว้ากับบางสิ่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งนั้นเป็นเรื่องของเวลา การเดินทาง รูหนอน แล้วอะไรเป็นเหตุผลของการเลือกศึกษาอย่างบ้าคลั่งของดอนนี่ล่ะ หรือเพราะแฟรงค์ (James Duval) ชายชุดกระต่ายที่บอกอีกไม่กี่วันโลกจะแตก ดังนั้นดอนนี่มีความกลัวกับเวลาที่เหลือน้อยลงไปจนเกิดสำนึกตัวเองในการลองเสี่ยงเผื่อที่ว่าเป็นหนทางของการเดินข้ามกาลเวลา ในขณะที่ความรักเป็นการรักตัวเองจนพร้อมจะเผชิญได้ทุกอย่าง ฟังคล้ายๆความกล้า แต่ถ้าไม่มีความกล้าเราคงไม่มีความรักพอจะเข้าใกล้ เช่นเรื่องเพื่อนใหม่ที่ไปๆมาๆดอนนี่ได้ช่วยเหลือเกร็ตเชน รอสส์ (Jena Malone) จากกลุ่มอัธพาล ที่ทั้งคู่มีความสัมพันธ์ลึกๆขึ้นมาๆจนสนิทกันอย่างดี ทว่าข้อดีของสารรูปตัวละครที่เห็นเป็นอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีใครหรือหน้าจะเหยียบก้าวเข้ามาเป็นตัวที่โดดเด่นแบบทิ้งห่างตัวละครจนลืม ก็คล้ายๆความสัมพันธ์ความรักของดอนนี่กับเกร็ตเชนที่ตัวหนังไม่ได้เผยถึงความหวานชื้นจนนอกลู่ทางลืมเอกลักษณ์เดิม ซึ่งมาในรูปของ"เรื่องของเขาเราไม่เกี่ยว" บางคนอาจจะคิดว่าความรักดูจะหลวมไปหรือเปล่า เพราะสุดท้ายในตอนท้ายๆเรื่องบทสรุปแบบนั้นไม่ค่อยจะอินกับการสูญเสียเลย แต่อย่าลืมสิว่านี่เป็นแนวออกจะดาร์คๆมีความเป็นเอกเทศของตัวเองสูง การที่เห็นความสัมพันธ์ของทั้งคู่ที่อยู่ด้วยกันเท่านี้นับว่าซึ้งพออยู่แล้ว แล้วทำไมต้องซึ้งด้วยล่ะ ก็ไม่คิดหรือไงว่านิสัยดอนนี่กับความเป็นโรคจิตอ่อนๆแบบนั้นใครจะเข้ามาตีสนิทได้ แถมถึงจะมีเพื่อนบ้างก็ใช่ว่าทุกคนจะยอมรับในตัวเขา ผิดกับเกร็ตเชนที่สามารถอยู่กับเขาอย่างสนิมสนม เพียงแค่ผลต่างแค่ไหนก็แสดงได้บรรลุไปอีกเรื่องหนึ่งของประสบการณ์วัยรุ่นแล้ว
ภูมิฐานการเลี้ยงของครอบครัวดาร์โกมีที่มาจากการปล่อยอิสระเช่นคนธรรมดาทั่วไป ทว่ากับดอนนี่การปล่อยให้อิสระก็ยิ่งเพิ่มความคิดให้มากขึ้นในสิ่งที่พิสูจน์ได้ยากยิ่ง ขนาดดอนนี่ถูกพักการเรียนเพราะไปด่าอาจารย์จนโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ พ่อแม่ของดอนนี่ยังไม่ว่าหรือตักเตือนเลยสักนิดเดียว บางครั้งก็อดคิดไม่ได้ว่าลูกตัวเองเป็นอะไร แต่ก็แค่คิดมาแวบหนึ่งเท่านั้น ปัญหาอย่างแรกที่ตัวหนังบอกเป็นนัยๆผ่านบทสนทนาที่กินข้าวในช่วงแรกๆคือการบอกถึงความมีปัญหาที่ดอนนี่ต้องกินยา ซึ่งพอเราทำความเข้าใจได้จะรู้ว่าดอนนี่มีจิตแพทย์เพื่ออะไร ส่วนดอนนี่เป็นอะไรนั้นน่าจะเป็นผลพวงมาจากความคิดเป็นของตัวเองบวกกับความไม่ปกติอ่อนๆหรือจะบางอย่างที่เตรียมมาก่อน? ไม่ใช่เรื่องของกึ่งฝันกึ่งจริงที่มีจริงมีเท็จ แค่มีการท่องเวลามาเอี่ยว ก็คล้ายโลกคู่ขนานนั้นแหละ ไม่เคยรู้ว่าเป็นหนังไซไฟมาก่อนจึงมารู้อีกทีก็อดย้อนคิดทบทวนหลายอย่างทันที เพราะอะไรนะเหรอ เพราะการเล่าเรื่องมีมาเรื่อยๆ สิ่งที่ซ่อนอยู่ในแต่ละโอกาสล้วนมีความหมายอย่างแน่นอน ซึ่งการดำเนินเนื้อเรื่องไม่ได้แจกบทให้ใครเด่นนอกจาก Jake Gyllenhaal ที่เล่นเป็นดอนนี่ได้เป็นเด็กที่มีปัญหาสมบทบาทจริงๆ เนื้อเรื่องจะมาแบบไม่รีบร้อน มีจุดลงความปราณีตอย่างแยบยล ทำให้ผู้ชมติดตามได้ตลอดเรื่อยๆ แต่ประเด็นคือตอนจบที่ใครตามเรื่องราวที่แล้วมาไม่ทันก็ไม่ต้องมาอธิบายอะไรมากนอกจากบอก"ให้ย้อนไปดูอีกสักรอบก่อน โฟกัสเยอะๆเป็นบางจุด" เผื่อว่าอะไรที่ตัวเองพลาดไปจะได้นำมาประกอบความเข้าใจได้อีกที ซึ่งมันช่วยได้มากในการตีความหมายในแต่ละจุด ยิ่งเป็นหนังไซไฟที่กล่าวถึงวิทยาศาสตร์โดยตรงแบบไม่อ้อมโลก ฉะนั้นอะไรคือไซไฟที่หนังบอกก็คงเข้าใจกับเรื่องท่องเวลาดี
ตอนที่รู้ว่าเป็นหนังไซไฟคือตอนไหนที่เรารู้สึกกัน ใช่ตอนที่เห็นอะไรออกจากท้องหรือเปล่า หรือจะเป็นตอนจบตามเวลาที่เหลือว่าโลกแตกล่ะ ทั้งหมดนี้เป็นการตัดสินใจที่ริเริ่มมาจากตัวดอนนี่ และเราหลงไปกับดอนนี่จนงอหัวไม่ขึ้นในตอนจบถึงเหตุผลความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นการเดินทางข้ามเวลา ปมประเด็นอีกอย่างเกี่ยวกับตัวดอนนี่คือภาวะอาการของเขาที่จิตแพทย์ลงความเห็นว่าเป็น"ประสาทหลอนกลางวัน"หรือ"โรคจิตหวาดกลัว" ซึ่งอาการดังกล่าวถ้าว่ากันตามตรงแล้วดอนนี่รับไม่ได้กับความจริงที่เผชิยทำให้เป็นแรงผลักดันที่ต้องต่อต้านแทนที่จะเลือกสู้ชีวิตแบบนั้น
ด้วยพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหลังเครื่องบินตก ดอนนี่เกิดอาการที่ก้าวร้าว และแปลกแยกจากคนอื่น อีกทางหนึ่งคล้ายกับว่าเขามีความเบื่อหน่ายกับวิถีชีวิตที่ผันตรงตามหัวคิดของผู้ใหญ่มากเกิดไป ยังจำประโยคที่ดอนนี่ได้รับจากคุณยายศพ (Patience Cleveland) ได้หรือไม่ที่กล่าวว่า"สรรพสิ่งบนโลกต้องตายอย่างโดดเดี่ยว" เท่ากับว่าดอนนี่เริ่มคิดถึงตัวเองในช่วงชีวิตสุดท้ายขึ้นมาทันทีว่าเขาไม่อยาก"เหงา" ดอนนี่เคยบอกจิตแพทย์เรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน และทำให้เขาเผยความในใจเกี่ยวกับความหมายประโยคนี้ด้วยการคิดถึงอดีตตอน 8 ขวบที่สุนัขที่เลี้ยงกำลังตาย แต่มันกลับค่อยๆคลานเข้าใต้เก้าอี้ ประหนึ่งว่าดอนนี่เจอกุญแจอย่างหนึ่งเกี่ยวกับชีวิตจริงๆขึ้นมา ถ้าวันที่เครื่องบินตกลงมาแล้วเขายังนอนอยู่ในห้อง เขาคงโดดเดี่ยวและเหงาที่ทุกอย่างไม่สามารถเลือกไปกับเขาได้อีกต่อไป
ก่อนจะเข้าถึงเหตุผลของตอนจบ ต้องมาขุดคุ้ยในสิ่งที่ดอนนี่ทำก่อนว่าการทำโรงเรียนน้ำท่วม และการเผาบ้านนั้นทำไปเพื่ออะไรกัน บ้างเสียงคงเห็นว่าแฟรงค์เข้ามากุมชีวิตของดอนนี่ที่บอกให้ทำ แม้จะไม่ได้บอกตรงๆก็ให้เหตุผลว่า"พวกเขาอยู่ในอันตราย" ถ้างั้นทำไมต้องกระทำรุนแรงขนาดนั้นด้วย แล้วประโยชน์ของผลลัพธ์คือพวกรอดอย่างนั้นรึ ถ้างั้นพวกเขารอดจากอันตรายอะไร จริงๆถ้าคิดกันไม่ผิดประเด็นนี้มีปมที่แฝงมากับนิยายแกมกรีน ในช่วงแรกหนังเผยการสอนเรื่องราวแกมกรีนช่วงหนึ่งที่อาจารย์คาเรน (Drew Barrymore) ได้ตั้งคำถามถึงเด็กจากในเรื่องว่าทำไมถึงเข้าไปในบ้านหลังนั้น ในขณะที่เด็กอีกคนตอบว่าเพื่อเข้าไปปล้น แต่ประเด็นไม่ถูกต้องง่ายขนาดนั้นจึงถามดอนนี่ในฐานะที่เจอเรื่องร้ายๆมา(เครื่องบินตก) โดยเขาตอบว่า"พวกเขาพูดชัดตั้งแต่ทำน้ำท่วมบ้าน แล้วก็ตอนพังบ้านเป็นชิ้นๆแล้วว่าการทำลายคือรูปแบบของการสร้างสรรค์ การเผาเงินเป็นการประชด พวกเขาแค่อยากรู้ว่าถ้าโลกแตกจะเป็นยังไง พวกเขาอยากเปลี่ยนแปลง" สรุปได้เลยไหมถึงการกระทำที่ทำลายของดอนนี่ที่ทำน้ำท่วมโรงเรียนและเผาบ้านเป็นการทำเพื่อประชดชัน แต่อันที่จริงมองลึกลงไปการทำเรื่องแบบนี้เมื่อตีเข้ากับเรื่องโลกแตก(อันตราย)บางทีอาจหมายถึงการเตือนเพื่อเปลี่ยนแปลงอนาคตก็เป็นได้
เครื่องบินตก=ดอนนี่(รอด)
ไม่ทราบที่มาของเครื่องบิน=มาจากไหน
จริงๆอยากเก็บประเด็นตรงนี่เอาไว้ท้ายก่อนๆแล้วค่อยปิดที่หลัง แต่คิดว่าเข้าเรื่องให้จบๆไปเลยดีกว่า เริ่มที่รูหนอนที่กำลังเกิดขึ้นกับดอนนี่อย่างค่อยเป็นค่อยไป เขาพยายามศึกษาข้อมูลมากขึ้นจากการได้อ่าน"ปรัชญาการท่องอวกาศ" ทว่าคนเขียนหนังสือคือโรเบิร์ต สตาร์ สเปโรหรือคุณยายศพที่เพี้ยนคนนั้น ตัวหนังบอกอีกว่าก่อนหน้าจะกลายเป็นคนเพี้ยนเคยเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์มาก่อน แต่เกิดเป็นว่าพออีกวันก็กลายเป็นคนละคนไปเลย ทีนี่ยังจดจำสิ่งที่คุณยายศพทำหน้าตู้กล่องรับจดหมายได้หรือเปล่า แล้วคิดไหมว่าทำไมต้องย้อนไปเปิดกล่องรับจดหมายซ้ำแล้วซ้ำเล่าคล้ายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาจริงๆ ย้อนกลับมาที่ดอนนี่ที่เริ่มเข้าใจในรูหนอนถึงความเป็นไปได้ที่จะข้ามกาลเวลา โดยอย่างแรกต้องมีพาหนะเสียก่อน ซึ่งตัวหนังได้อธิบายบอกถึงในส่วนที่กว้างเกี่ยวกับเรื่องย้ายเวลาด้วยพาหนะที่ไม่จำเป็นต้องใช่ยานอวกาศเสมอไป ขอแค่เป็นเศษเหล็กประมาณนั้นก็เข้ารูหนอนท่องเวลาได้ แต่ปัญหาคือซุ่มประตูที่ต้องเจอก่อนจึงจะได้รูหนอนข้ามมิติได้ ในแง่ของซุ่มประตูคงไม่ต่างอะไรจากการเริ่มต้นของมิติที่ขยายเป็นปลายเปิดจนเข้าสู่โลกคู่ขนาน ที่น่าสนใจเป็นการเข้าถึงรายละเอียดของเหตุผลตามหลักการเรื่องซุ่มประตู รูหนอน และแก้ไขเวลาอย่างซื่อตรง ผิดอย่างเดียวคือดอนนี่ที่ยังคงแปลกแยกกับตัวเองที่เอาไปเข้ากับเรื่องพระเจ้า อย่าว่าแต่เรื่องสังคมกับท่องเวลาเลย ในส่วนของศาสนายังเจือเข้ามาเกือบจะรุนแรงด้วยซ้ำ คิดดูนะ"การตายอย่างโดดเดี่ยวเป็นการบอกถึงการตายอย่างลำพัง" ในตอนที่พระเยซูไม่มีชีวิตบนโลกนี้ไม่มีใครตามไปด้วยยังคงอยู่บนไม้กางเขนต่อไป นี่แหละ"เรื่องของเขาเราไม่เกี่ยว" ใครตายก็ต้องตายโดยไม่ยึดติดสิ่งใด
ดอนนี่คิดว่ารูหนอนที่ข้ามเวลาไปแก้ไขในอดีตได้ยังมีอีกมิติหนึ่งที่ตัวเขาคิดว่าเป็น"ช่องพระเจ้า" ทว่าถ้าแก้ไขอดีตได้อนาคตจะสูญสลายไปแล้วเริ่มใหม่จากต้นเหตุ แต่ดอนนี่ต้องการให้เป็นอย่างเดิมแม้แก้ไขอดีต ซึ่งเขาจะยังอยู่ที่ช่องพระเจ้า ในความหมายช่องพระเจ้าน่าจะเป็นโลกคู่ขนานนั้นแหละ และกับโลกคู่ขนานไม่จำเป็นต้องเหมือนกันเสมอไป เปรียบได้กับมีหลายโลกที่ใช้ชีวิตคล้ายกันแต่มีมิติกับเวลาเป็นของตัวเอง ฉะนั้นดอนนี่จึงอยากลองในการท่องเวลาดูสักครั้งของชีวิตเผื่อทำบางอย่างในสิ่งที่อาจผกผันขึ้นมา
แฟรงค์เป็นตัวละครปริศนาเพียงตัวเดียวที่ไร้ที่มาจนกระทั่งวันที่ได้เจอเจ้าของชุดกระต่ายคนนั้น ในวันฮาโลวีนจัดปาร์ตี้อย่างสนุกสนานเหลือเพียงอีกไม่กี่ชั่วโมงกำหนดการที่นัดเอาไว้ก็จะมาถึง ความหวังครั้งสุดท้ายของดอนนี่คือการไปหาบ้านคุณยายศพ ทว่าเหตุการณ์กลับพลิกไปเมื่อเกร็ตเชนที่ตามมาด้วยเกิดอุบัติเหตุรถชน ลองทายสิว่าคนที่ขับรถชนนั้นคือใคร คนที่เป็นคนปริศนาหรือแฟรงค์นั้นเอง อ้าวแล้วที่โผล่มาให้ดอนนี่เห็นคืออะไรกันแน่ เชื่อว่าหลายคนคงงงเอาการ ฉะนั้นจึงอยากให้เก็บเรื่องนี้เอาไว้ก่อนเพราะถ้าเป็นอย่างที่คิดจริงๆแฟรงค์ที่ปรากฏให้ดอนนี่เห็นแบบภาพหลอนๆอาจเป็นมากกว่าภาพลวงตา
รูหนอน=ย้อนเวลา
ขิ้นส่วนเครื่องบิน=ต่างมิติ
เครื่องบินตก=ดอนนี่(ไม่รอด)
"28 วัน 60 ชม. 42 นาที 12 วินาที"คือเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จู่ๆเกิดบางอย่างที่คล้ายๆพายุขึ้นมาสิ่งนั้นทำให้เกิดเหตุขัดข้องกับเครื่องบินที่มีแม่กับน้องของดอนนี่อยู่ด้วย ซึ่งตัวหนังไม่ได้เสนอเหตุการณ์ว่าจะรอดหรือเปล่า ที่แน่คือเราได้เห็นชิ้นส่วนเดียวกับที่ตกที่ห้องดอนนี่เมื่อครั้งก่อน ทว่าชิ้นส่วนนั้นคล้ายๆกำลังเคลื่อนเข้าไปในอะไรสักอย่าง หรือว่าจะเป็นรูหนอนกันล่ะ เมื่อซุ่มประตูได้เปิดออกรูหนอนก็มาเช่นกัน ดอนนี่ที่อยู่ในรถกับเกร็ตเชน(ที่ตายแล้ว)ได้ออกมาที่ห่างไกล เฝ้ามองดูพายุที่เหมือนหลุมดำเล่นงานหมู่บ้าน เขาตะหนักได้ถึงความเป็นไปของชีวิติขึ้นมา
การที่เกร็ตเชนเคยบอกเขา"ถ้าย้อนเวลาไปได้เอาสิ่งที่เลวร้ายมาแทนสิ่งที่ดีกว่าได้ล่ะ" ประโยคนี้ถ้าคิดกลับกันเป็นการกลับมาของดอนนี่จะว่ายังไง ที่ลองๆคิดคือดอนนี่ได้ท่องเวลามาแล้วเรียบร้อย สังเกตเอาได้จากตอนเปิดเรื่องที่ดอนนี่มาโผล่เอาอยู่กลางถนนกับจักรยาน อีกทั้งความแปลกประหลาดที่พ่อแม่ผิดสังเกตจากนิสัยดอนนี่ที่เปลี่ยนไปหลังอุบัติเหตุ บางทีการกลับมาจากการท่องเวลาสิ่งที่ดอนนี่คิดคือการยับยั้งเหตุการณ์ร้ายๆที่เกิดขึ้นด้วยการให้ตัวเองออกจากห้องของตัวเอง แต่เผอิญเรื่องร้ายๆนั้นยังคงเกิดขึ้น และการท่องเวลามีผลกับภาวะจิตใจอย่างมากจนเกิดอาการโรคจิตหวาดกลัวขึ้นมา ก็ดูเอาจากคุณยายศพที่จากคนปกติกลายเป็นคนละคน เพียงแต่เพราะอะไรกันนะกับผลกระทบแบบนี้ ส่วนความผิดพลาดในครั้งก่อนคือการทำไปเพราะอารมณ์ของตัวเองหรืออีกนัยยะหนึ่งคือกำลังคอย ดอนนี่ฆ่าแฟรงค์ในเวลาปัจจุบัน สุดท้ายดอนนี่ที่ท่องเวลากลับไปบนเตียงได้สำเร็จกลับไม่มีแฟรงค์มาบอกเตือนเรื่องเครื่องบินตก สุดท้ายแฟรงค์ในภาพหลอนคือตัวตนของดอนนี่ที่รู้มาก่อนและเตือนความจำในเชิงความกลัว พูดง่ายๆเป็นความทรงจำบวกกับโรคประสาทจึงได้แฟรงค์ออกมาถายใต้จิตใจความกลัว เนื่องจากดอนนี่ฆ่าแฟรงค์ที่ส่วมชุดกระต่าย ตามความจริงเขาไม่อยากให้เกร็ตเชนตายเลยสักนิดแถมแฟรงค์ที่ไม่รู้จักก็ไม่ควรตายด้วย แต่เขาต้องจัดการด้วยการยิงแฟรงค์เพื่อกลับไปแก้ไขให้สมบูรณ์ เพื่อความเท่าเทียมกัน เพื่อทดแทนสิ่งที่เขาทำออกมาให้เข้าที่กลับไปเป็นเหมือนเดิม สุดท้ายไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงทุกอย่างเหมือนเดิม แต่มันจะไม่เหมือนเช่นเคย
THE END
Donnie Darko คือหนังที่เดาทางได้ยากเพราะการนำเสนอที่ก่ำกึ่งระหว่างจริงกับฝันจึงมองได้หลายมุมมองหลายแนวคิด มีรูปแบบที่ชัดเจนมีการดำเนินเรื่องแบบมาเรื่อยๆปล่อยให้ผู้ชมได้ติดตามไปด้วยกัน ฉะนั้นถ้าพลาดโอกาสในบางฉากไปอาจทำให้ดูไม่รู้เรื่องในการไปต่อของเรื่องราวได้ แต่ปัญหาของเนื้อเรื่องคือความเป็นจริงที่พิสูจน์ได้ครึ่งๆ ถ้าดอนนี่เคยท่องเวลามาแล้วจริง ทำไมดอนนี่ยังปล่อยให้เวลาเดินไปแบบซ้ำซากล่ะแถมเรื่องการท่องเวลาก็เหมือนจะไม่เคยรู้มาก่อนด้วย สรุปแล้วคงยังเป็นหนังที่พิสูจน์กันได้ยากสักนิดล่ะ แล้วถ้าหนังดำเนินเรื่องแบบสลับโลกคู่ขนานล่ะคงจะแยกไม่ออกและงงพิลึก
ที่น่าภูมิใจและชอบมากคือดนตรีกับเพลงประกอบที่เกือบจะสดใสก็ไม่เชิง บางทีถลำเป็นมืดมนก็ใช่ ยิ่งได้ฟังเพลง Head Over Heels ของ Tears For Fears และเพลง Mad World ของ Gary Jules ยิ่งได้อารมณ์ร่วมกับหนังเป็นอย่างมาก ตัวหนังมาทางวัยรุ่นเป็นอย่างมากจะหาความเป็นผู้ใหญ่ได้น้อยนิดนอกจากสังคมที่เป็นอยู่ เชื่อว่าหลายคนดูรู้เรื่องไปได้เรื่อยๆจนกระทั่งหนังมาตอนจบนี่แหละที่ทำเอาผู้ชมมีงงกันไปไม่น้อย ก็เล่นเอาผู้ชมตายตอนจบเลย