Coyote Ugly (2000) บาร์ห้าว สาวฮอต

Coyote Ugly (2000) | บาร์ห้าว สาวฮอต
Director: David McNally
Genres: Comedy | Drama | Music | Romance

ครั้นยังจำได้ว่าเมื่อก่อนค่อนข้างชอบเรื่องเอาการ เนื่องด้วยระยะเวลาที่แปรเปลี่ยนไปทำให้รู้ว่าสมัยนั้นตัวเองมีความคิดยังไงกับเรื่องนี้ และตอนนี้มีความคิดว่าหนังเรื่องนี้สนุกแบบสดใสไม่เปลี่ยนแปลง ที่สำคัญเพลง Can't Fight the Moonlight นี่แหะที่อาจทำให้คุณฟังจนหูแฉะได้


คงไม่ว่าอะไรถ้า Coyote Ugly ยังมาตามพื้นฐานสูตรนิยมของหนังนักล่าฝันที่ต้องมีดีมีร้ายปะปนกันไปแล้วลงเอยอย่างแฮปปี้แอนดิ้งอันแสนสวยหรูปิดท้ายอย่างงาม ไวโอเล็ต (Piper Perabo) สาวน้อยเด็กเสิร์ฟจากชนบทที่มาในเมืองใหญ่เพื่อนำผลงานของเธอมาขายเผื่อว่าตัวเองจะสามารถแจ้งเกิดในวงการได้ในฐานะคนแต่งเพลง แต่เมื่อเธอได้เข้ามาในเมืองอันแสนแตกต่างจากบ้านนอกก็พบว่าความฝันนักแต่งเพลงมันไม่ง่ายเฉกเช่นความฝันเอาเสียเลย ยิ่งเธอพยายามค้นหายิ่งทำให้ตัวเองลำบากขึ้นเรื่อยๆ ที่แห่งนี้มีทั้งคนดีและไม่ดีตามที่ต่างๆ การจะให้คนอื่นมายอมรับฟังเพลงของเธอกลับไม่ได้ว่าง่ายขนาดแค่รับฟังยังไม่ทำเลย เมื่อไม่มีอะไรสำเร็จโดยง่ายทำให้ต้องตะแวนตามที่ต่างๆจนตัวเองลืมไปว่าการรับงานเพิ่มสมัยนี้ไม่ได้เข้ากันที่คุณภาพเพียงแค่หยิบส่งเสมอไป และมีอยู่วันหนึ่งที่ทำให้เธอต้องรู้สึกอยากยอมแพ้ความฝันของตัวเองเมื่อมีคนบุกขโมยข้าวของในบ้านจนไม่มีเงินเหลือเลยสักนิด มันทำให้สิ้นหวังอย่างมากเพราะแทนที่จะหางานได้กลับต้องเสียเงินไปซะแทน ระหว่างนี้สิ่งแรกที่ทำได้คือการเริ่มนับใหม่หางานใหม่ให้ตัวเองมีเงินมาเลี้ยงตัวเองให้ได้ก่อน

แม้ว่าการมองหางานในเมืองจะเป็นเรื่องยากเกินตัว แต่เธอได้เห็นงานชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจจากรายได้ที่ท่วมท้นจากบรรดาสาวๆที่อวดก้อนเงินอย่างสบายใจ งานนี้มีหลายอย่างที่แตกต่างจากบรรดางานอื่นๆค่อนข้างมาก ต้องมีทักษะเอกลักษณ์ของตัวเองที่นอกจากต้องชงเหล้าเสิร์ฟเบียร์แล้วจำต้องเต้นได้ถูกจังหวะคนในบาร์จนเนื้อเต้นให้ได้ด้วย นี่อาจฟังดูแปลกสำหรับคนที่อยากเป็นนักแต่งเพลงเพราะไวโอเล็ตตัดสินจะเลือกเข้าเป็นสาวโคโยตี้สร้างความหฤหรรษ์ให้กับลูกค้า ซึ่งทีแรกเธอทำเพราะอยากได้เงินเท่านั้นขอแค่เป็นเด็กเสิร์ฟเฉยๆ ยิ่งเธออยู่นานยิ่งมีหลายอย่างกำลังทดสอบเธอมากขึ้น และทุกครั้งที่เกิดปัญหามักจะก้าวข้ามไปได้เสมอจนได้เป็นโคโยตี้เต็มตัว ทว่าปัญหาได้เกิดขึ้นเมื่อคนสุดท้ายที่บอกว่าจะมาหางานเป็นนักแต่งเพลงคือบิลล์ (John Goodman) พ่อของเธอ แต่เมื่อรู้ว่าตอนนี้เป็นโคโยตี้จะสามารถยอมรับเข้าใจหัวอกลูกได้หรือไม่ และเส้นทางชีวิตใฝ่ฝันของเธอจะสมหวังได้ตามที่ต้องการหรือเปล่า


เหมือนจะนอนสอนง่ายตามหนังชีวิตค้นหาความฝันของตัวเองที่ได้สิ่งที่ต้องการโดยไม่ตั้งใจว่าจะต้องใช่เสมอไป ไวโอเล็ตมีความฝันอยากเป็นนักแต่งเพลงเฉกเช่นความฝันของแม่ที่เคยเป็นนักร้อง แต่ด้วยปมประเด็นปัญหาชีวิตของแม่ของเธอทำให้ไม่สามารถร้องเพลงให้ใครฟังได้อีกเลยเพราะขาดความมั่นใจเมื่อต้องอยู่หน้าเวที ด้วยความสนิทใกล้ชิดไวโอเล็ตจึงรักในเสียงเพลงจนมั่นใจว่าน่าจะสามารถส่งถึงแมวมองเข้าวงการได้อย่างสบายๆกระนั้นต้องติดนิสัยความไม่กล้าแสดงออกต่อหน้าเวทีด้วยเช่นกัน ซึ่งนั้นกลายเป็นปัญหาใหญ่เมื่อความกล้าแสดงออกไม่ได้ช่วยให้เธอดีขึ้นแม้จะพยายามรับตำแหน่งสาวเสิร์ฟเฉยๆก็ตาม ในตอนที่มารับงานในบาร์นั้นสิ่งแรกที่เธอเห็นคือความไม่ยุ่งยากในการทำงานที่พร้อมด้วยเงินที่เข้าถึงได้ง่ายและเร็วกว่าจะไปเป็นนักแต่งเพลงที่ตอนนั้นแค่ลองรับเพลงที่แต่งไปฟังสักสี่นาทียังทำกันไม่ได้เลย คงไม่ต้องคิดหรอกว่าเมื่อไหร่จะได้แจ้งเกิดในวงการให้เป็นที่รู้จักเสียที นี่ยังไม่รวมเรื่องเงินที่จะได้มาที่ต้องรอคอย ฉะนั้นไวโอเล็ตที่กำลังลำบากเรื่องเงินมากกว่าเรื่องหางานจึงจำใจหางานใหม่ที่น่าจะได้เงินเร็วกว่า อย่างน้อยก็ขอให้ได้เงินมาเลี้ยงชีพตัวเองก็ยังดี เพราะไม่งั้นเธอคงหมดอาลัยละความฝันไปอยู่บ้านนอกเป็นเด็กเสิร์ฟพิซซ่าต่อไปแน่ ซึ่งเธอคงไม่คิดเช่นนั้นที่จะกลับบ้านนอกมือเปล่าเพราะทุกคนรู้ว่าเธอจากไปเพราะเริ่มต้นกับงานใหม่ แม้แต่กลอเรีย (Melanie Lynskey) เพื่อนของเธอยังตั้งความหวังเอาไว้ไม่น้อยจนยอมแบ่งเงินส่วนหนึ่งให้เผื่อว่ามีปัญหาขาดแคล้น แต่ไวโอเล็ตไม่รับเงินส่วนนั้น แต่ถึงงั้นกลอเรียยังคงให้และนำไปใส่ไว้ในตู้เย็นเพื่อเป็นการยืนยันแล้วว่ามันจะอยู่กับไวโอเล็ตดังของสำคัญอย่างของกินที่ขาดไม่ได้ เมื่อยามมีปัญหาจงใช้เงินก้อนนั้น จนกระทั่งวันนั้นที่ขโมยขึ้นบ้าน ทุกอย่างพังกระจาย สิ่งหนึ่งที่ไวโอเล็ตคิดได้คือเงินก้อนนั้นที่ภาวนาว่ายังอยู่แต่กลับไม่มีอยู่เลยสักแบงค์เดียว มันทำให้เธออ้างว้าง และนั้นเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่เธอเลือกรับงานนี้ในบาร์


การที่ไวโอเล็ตเดินทางมาเมืองเพื่อต้องการงานที่ดีกว่าแสดงว่างานบ้านนอกมันย่ำแย่อย่างงั้นรึ? เปล่าเลยมันไม่ใช่แบบนั้นแน่เพราะงานที่ซื่อสัตย์คงไม่มีใครมองว่ามันทุจริตเว้นแต่ความลำบากของงานที่ได้กำไรน้อย เดิมทีไวโอเล็ตทำงานอยู่ร้านพิซซ่า ที่ร้านไม่มีอะไรดูเลวร้ายนอกจากความเป็นกันเองตามประสาชนบทอย่างราบรื่น แต่ด้วยความฝันที่ไม่ขอหยุดนิ่งจึงอยากตามความฝันมาเมืองใหญ่หวังดันตัวเองให้โด่งดังสักครั้งในชีวิต ด้วยความหลงใหลในเสียงเพลงเธอจึงเลือกการเป็นนักแต่งเพลงที่ชื่นชอบมาแต่เล็ก ทั้งนี้การมาเยือนเมืองใหญ่ก็ใช่จะเต็มไปด้วยความปรามปลื้มปิตินักโดยเฉพาะพ่อของไวโอเล็ตที่ดูเหมือนจะติดลูก ไม่ใช่ติดแบบพ่อติดลูก หมายถึงความเป็นห่วงลูกที่ไม่อยากจากกันไปไกลมากกว่า การดำเนินเรื่องในช่วงแรกสังเกตได้จากการแสดงสีหน้าของผู้เป็นพ่ออย่างชัดเจนเรื่องไม่อยากให้ไวโอเล็ตไป ถึงแม้ในใจจะอยากห้ามว่าอย่า...หรือได้โปรด... ทว่าในอีกใจหนึ่งต้องเชื่อใจลูกตัวเองว่าอาจจะทำสำเร็จกลับมาก็ได้ ด้วยความสัมพันธ์นี้ตัวหนังได้ริเริ่มความผูกพันอย่างหนึ่งกับความหวังจากผู้พ่อว่าลูกอาจได้การงานที่ดีในฐานะนักแต่งเพลง


เพราะการแต่งบทเพลงจำต้องใช้อารมณ์ร่วมด้วยเสมอเธอจึงมักแต่งเพลงในพื้นที่ส่วนตัวจากบนตึกเสมอเพื่อรับกลิ่นอายจากภายนอก ซึ่งนั้นทำให้เธอได้ประสบการณ์ใหม่จากการลองเล่นข้างนอกที่เห็นผู้คนแตกต่างกันออกไป อันรวมไปถึงการรู้จักเควิน (Kevin O'Donnel) คนแปลกหน้าที่ภายหลังกลายเป็นคนสนิทสำคัญที่เป็นมากกว่าตัวช่วยของชีวิตที่เสริมแรงผลักดันอย่างมหาศาล ไวโอเล็ตได้ค้นพบอุปสรรคขวางหน้าแบบไร้หนทางไปต่อได้ถ้ายังยืนหยัดเพียงคนเดียว ด้วยความบังเอิญแบบไม่ตั้งใจการพบเควินเสมือนได้ทำนองของชีวิต

ถ้าไวโอเล็ตคือเนื้อเพลง เขาจะทำให้เพลงนั้นมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการเพิ่มจังหวะ ตัวละครเควินคือสิ่งแรกที่ผู้ชมเห็นว่าเป็นพระเอกนิสัยดีเยี่ยมคนหนึ่งที่เหมาะสมอย่างมากว่าจะมาเห็นไวโอเล็ตประหนึ่งคู่ชีวิต ด้วยความไม่ตั้งใจบังเอิญพบทำให้ทั้งคู่ผิดเรื่องผิดราวกันจนสนิทสนมกัน ซึ่งดูเหมือนว่าเควินจะสนใจในตัวไวโอเล็ตอยู่ไม่น้อย เพราะอย่างแรกคือการได้ฟังเพลงที่เธอแต่งเป็นรายแรก ซึ่งทำให้ตัวเองหลงใหลในความสามารถจนอยากพบเจออีกครั้ง และไวโอเล็ตก็บอกให้ไปพบที่บาร์โคโยตี้ เควินไม่รู้ว่าอะไรคือโคโยตี้?
 

โคโยตี้ในความหมายของคนบางคนคืออะไร มันไม่ได้เหมือนพวกขายตัวเสมอไปหรอกนะ อันจริงต้องเรียกว่าเป็นนักเต้นที่เพิ่มแรงผลักดันในใจให้รู้สึกกระชุ่มกระชวย ตื่นเต้น เร้าใจมากกว่า หรือจะบอกว่าเป็นในลักษณะคล้ายแดนเซอร์ก็ได้ สำหรับแดนเซอร์คือนักเต้นที่อยู่หลังนักร้อง เป็นตัวประกอบฉากให้มีมิติไม่ชวนโล่งเกินไป ให้ดูรู้สึกว่ายังหลงเหลือความเป็นมุมมองอยู่บ้าง ในขณะที่โคโยตี้คือนักเต้นที่อยู่เหนือนักร้อง อันที่จริงไม่จำเป็นต้องใช้นักร้องมาร้องให้ฟังเลยก็ได้ขอแค่มีเพลงจังหวะมันส์ๆพอให้อยากโยกย้ายก็พอแล้ว กับโคโยตี้หลายคนประเมินว่าเป็นอาชีพอันแสนน่ารังเกียจไม่ต่างจากการขายตัวที่ประกอบการเต้นโชว์ร่างเนื้อปลูกใจเสือ ในแง่อย่างหลังอาจปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันปลูกใจเสือจริงๆ แต่นั่นน่าจะหมายถึงการเอนเตอร์เทนลูกค้ามากกว่าการขายบริการสนองตัณหา อย่างแรกเกี่ยวกับโคโยตี้เรื่องนี้ที่น่าภูมิใจคือการทำให้อาชีพนี้เป็นทางเดินที่สุจริตและมีความสุขกับงาน อะไรล่ะที่ทำให้อาชีพโคโยตี้เป็นมากกว่าการขายบริการทางสายตา อย่างแรกคือมีขอบเขตที่ชัดเจนในเรื่องเต้นที่พาให้สนุกเพลิดเพลินปล่อยอารมณ์ไปกับจังหวะ อย่างที่สองคือที่นี้มีกฎเหล็กห้ามขายตัว การเต้นปล่อยไปตามทุกอย่างอิสระ ไม่ต้องลังเลว่าดูแย่ขอแค่มีใจกล้ากับสนุกก็พอเต็มอิ่มในค่ำคืน เฉกเช่นสามสาวที่ทำงานอยู่ก่อนที่ประกอบด้วย แคมมี่ (Izabella Miko) ,ราเชล (Bridget Moynahan) และโซอี้ (Tyra Banks) ที่ปล่อยตัวเองอย่างสนุกสนาม แต่ถามว่าพวกเธอทำไปเพื่ออะไรบ้างนอกจากการเต้น ประเด็นตรงนี่ตัวหนังพยายามเล่าอธิบายให้ฟังแล้วแต่เหมือนจะแผ่วจนเลือนลางจนได้ตัวละครเพียงโซอี้ที่ต้องรับอาชีพโคโยตี้เพื่อหาเงินไปเรียนต่อนิติศาสตร์

ใช่แล้วเป็นการกระทำเลี้ยงตัวเองที่นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือตัวเองแล้วยังบ่งบอกถึงการไม่ละทิ้งความฝันของตัวเองที่วางเอาไว้ รู้สึกได้เลยว่าไวโอเล็ตมีชะตากรรมไม่ต่างจากจุดยืนนี้ที่ต้องฝันฝ่าอุปสรรคช่วยเหลือตัวเองแบบนี้ สำหรับบาร์แห่งนี้เสมือนจุดเริ่มต้นของผู้แข่งขันที่กำลังเดินทางสู่ความฝัน บ้างจะสมหวังหรือไม่สมหวังก็ขึ้นอยู่กับตัวเองล้วนๆ แล้วคนทุกคนที่เกิดมาได้โกาสทำตามฝันบ้างหรือยัง


ปมประเด็นถูกเล่าผ่านเพียงแค่ไวโอเล็ตเป็นหลักในขณะที่คนอื่นๆถูกมองเป็นเพียงบทเรียนที่จบหลักสูตรมาก่อน เควินคือใครไม่รู้แน่ชัดนอกจากว่าตัวหนังกำลังกำหนดให้กลายเป็นคู่รักกับไวโอเล็ตที่เป็นไปตามหนังรักผสมโรง แต่ยิ่งตัวหนังเผยด้านด้อยของไวโอเล็ตมากเท่าไหร่ก็ยิ่งได้เควินมาช่วยแก้ปัญหาในจุดนี้มากเท่านั้น ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลพอจะบอกว่าทำไมถึงรักกันได้ กลับเข้าเรื่องปัญหาชีวิตของไวโอเล็ตที่กำลังขาดคนรองรับหรือเพื่อนที่พอจะอยู่ช่วยได้ และเธอก็หาได้จากการทำงานในบาร์ที่ทีแรกอาจจะทุลักทุเลไปบ้างในช่วงแรก แต่ยิ่งเธอทำความเข้าใจมันได้ก็เหมือนว่าหลายๆสิ่งกำลังยอมรับเธอ ลิล (Maria Bello) เจ้าของบาร์ที่ให้ไวโอเล็ตเข้ามาทำงานเพราะเห็นว่าขาดคน ในช่วงแรกอาจจะดีในเด็กเสิร์ฟแต่พอสั่งให้ไวโอเล็ตขึ้นไปเต้นมันก็เหมือนบีบบังคับให้ต้องทำ เพราะไวโอเล็ตมีปมเรื่องการแสดงออกต่อหน้าผู้คน(จำนวนมาก) ทำให้เธอถูกไล่ออกจากบาร์ก่อนจะใช้ความสามารถในการแก้ปัญหาเบื้องหน้าให้ลิลเห็นด้วยการห้ามผู้คนในบาร์ที่ทะเลาะกันได้อย่างหมดจดจนไม่เหลือเค้าเรื่องทะเลาะก่อนหน้านี้ ลิลปลื้มที่ไวโอเล็ตทำจึงยอมรับให้เข้ามาทำงานก่อนแล้วค่อยๆพัฒนาตัวเองให้เข้ากับความเป็นอยู่ของบาร์ แต่ยิ่งเธอเข้ากับบาร์แห่งนี้ได้มากยิ่งเปิดใจกล้ามากขึ้น ตอนนี้เธอสามารถกล้าพอจะโชว์กล้าพอจะเต้นเป็นโคโยตี้ให้ทุกคนในบาร์เห็นว่าเด็กใหม่คนนี้ทำงานอย่างอื่นเป็นมากกว่าเด็กเสิร์ฟเหล้า นั้นทำให้ไวโอเล็ตลดปมด้อยของตัวเองไปได้เปราะหนึ่ง ส่วนที่เหลือคือการกล้าในผลงานของตัวเองที่ยังไม่ได้โชว์ หลังจากทำงานในบาร์ได้สักระยะหนึ่งก็ทำให้เธอได้มีโอกาสได้สร้างเวลากับความฝันของตัวเองอย่างมีหวังมากกว่าก่อน และวันหนึ่งไวโอเล็ตได้รับแจ้งจากบริษัทว่าสนใจในเพลงที่ส่งมาอย่างมาก และเธอต้องเป็นคนร้องให้ฟัง

ปัญหาคือตอนที่จับไมค์แล้วร้องด้วยเพลงของตัวเองมันแตกต่างที่ได้เต้นด้วยเสียงเพลงที่ไม่ใช่ของตัวเอง ซึ่งอีหรอบเดิมคือยังขาดความกล้าพอจะยืนหยัดด้วยความมั่นใจของตัวเอง สุดท้ายเธอไม่ร้องเพราะกลัว


แต่ความกลัวมันแก้ไขกันได้เมื่อคนที่ปลุกปล้ำให้ไวโอเล็ตรู้คุณค่าของชีวิตคือเควินที่เสนอวิธีแก้ให้จนได้ฟังไวโอเล็ตร้องได้สำเร็จ แค่ตอนนั้นมันสองคนที่แตกต่างจากขณะนี้ที่มากหน้าหลายตาที่กำลังรอฟัง เควินแนะนำให้ไวโอเล็ตปล่อยว่างให้ไปตามเสียงเพลง เมื่อกลัวเพราะสายตาที่จับจ้องก็ปิดไฟให้มืดปลุกใจของตัวเองให้สว่างและสู้กับมัน หรือจะบอกว่าไวโอเล็ตเปรียบดังดาวที่สว่างน้อยไร้รัศมีควบคุมตัวเองยิ่งอยู่ในที่ๆมีแสงสว่างจากหลายๆที่ก็ยิ่งกลบกลืนตัวเองหายไป ทำให้รู้ว่ากล้าไปก็ไม่มีใครสนใจก็ยิ่งสว่างโดดเด่นยังไงก็คือขีดสุดของตัวเองแค่นั้น ฉะนั้นการจะให้แสงของตัวเองสว่างพร้อมจะให้โดดเด่นมากพอจะดึงดูดสายตาคือการเริ่มต้นในที่ๆมืดให้ตัวเองเห็นเสียก่อน บางครั้งคนเรายอมกล้าที่จะเสี่ยง แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เสี่ยงเพื่อได้ความกล้า เว้นแต่เขาคนนั้นยังไม่มีความกล้าจะเสี่ยง

"เขาเพิ่งเป็นครอบครัวฉันได้ 15 นาที แต่เธอเป็นครอบครัวฉันมาทั้งชีวิต"

ตอนนี้เราสัมผัสได้ว่ามิตรที่ดีคือใครไม่ใช่นอกจากคนที่พร้อมไปด้วยกัน ไม่จำเป็นว่าต้องร่ำรวยมากพร้อม ไม่ต้องว่าสำคัญต่อชีวิตจนขาดไม่ได้ มันสำคัญที่ว่าจะไปด้วยกันฉันท์มิตรได้หรือไม่ กลอเรียกล่าวประโยคนี้ด้วยความเป็นห่วงไวโอเล็ตที่ไม่สนด้วยซ้ำว่าตัวเองอยู่ในวันสำคัญแม้จะเป็นวันแต่งงานเพื่อมาหาเพื่อน คนเราจะล้มมากแค่ไหนในยามที่ลุกเมื่อได้มือดึงขึ้นมามันอุ่นใจยิ่งกว่ายืนด้วยตัวคนเดียวเพียงลำพัง เหมือนเควินที่หารู้ไม่ว่าชีวิตของเขามีอุปสรรคยิ่งกว่าไวโอเล็ตที่ต้องเลี้ยงดูตัวเองตั้งแต่เด็ก และนั้นเป็นกระตุ้นใจลึกๆของไวโอเล็ตแล้วว่าตัวเองต้องทำได้บ้างสิ ขนาดเควินยังเลี้ยงตัวเองได้จากความพยายาม ความขยัน และมุ่งมานะไม่หยุด และคนที่ไม่ได้ลำบากสาหัสอย่างตัวเราทำไมจะต้องยอมแพ้ ถ้าบาร์เปรียบอะไรสักอย่างน่าจะเป็นจุดพักพิสูจน์มากกว่า เพราะตอนก่อนไวโอเล็ตเหนื่อยกับชีวิตตัวเองจนต้องมาทำงานในบาร์จนพร้อมไปข้างนอกนั้นแหละที่เรียกว่าหายเหนื่อย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะหายเหนื่อยก็ไปหรอกนะ เพราะที่นี้มีหลายสิ่งทั้งเพื่อนคนรักมากมาย เต็มไปด้วยความสุขที่น่าเสพมากกว่าข้างนอกซะอีก


Coyote Ugly แม้จะไปตามน้ำอย่างเรื่อยๆไร้จุดโยงที่เน้นคุณภาพแบบเต็มเปี่ยม แต่พอๆมองดูแล้วก็ไม่มีส่วนไหนดูต่ำไปกว่าครึ่ง ถึงตัวหนังจะไปไม่สุดสักทางที่เอาอารมณ์แบบก่ำกึ่งบ้างสุดบ้างอย่างน้อยยังแฝงความบันเทิงกับลูกเล่นที่น่าชื่นชม มีสาระที่ใกล้ตัวกับคนทุกคนเป็นอย่างดี ที่สำคัญคือนักแสดงที่เหมาะกับคาแรคเตอร์ใช้ได้ แม้จะข้าถึงตัวละครแบบครึ่งๆกลางๆจนต้องทำความเข้าใจสักระยะก่อนลึกซึ้ง แต่ทุกคนเล่นได้ดี ในจังหวะการโชว์ลีลาการเต้นทำให้รู้สึกผู้ชมอาจอยากเข้าร่วมเต้นด้วยก็เป็นได้ สุดท้ายคนเราจะดังได้ต้องเริ่มจากการให้ตัวเองกล้าก่อน เพราะถ้ากล้าเราจะมีแสงสว่างนำพา แต่ยามใดที่ความกล้านั้นลดน้อยลงแสงนั้นจะค่อยๆลดเลือนไปกลายเป็นความมืดที่ไม่มีใครมองเห็นได้

รูปภาพของฉัน
เกิดปี 2538 (1995) แค่คนที่เรียนจบสาธารณสุขศาสตร์ แต่ชอบดูหนังเป็นชีวิตจิตใจ ที่เขียนรีวิวเพราะอยากแบ่งปันความรู้สึกที่ตัวเองมีให้อ่าน และกำลังทำช่อง YouTube เกี่ยวกับหนังสือ(การ์ตูนเป็นหลัก)