Nekromantik (1987) รักร่วมศพ

Nekromantik (1987)
รักร่วมศพ
Director: Jörg Buttgereit
Genres: Horror
Grade: C

ไม่ทันเริ่มเรื่องจะมีข้อความเตือนที่บอกถึงความสยดสยองอันแสนแหวะที่คิดให้ดีก่อนรับชม ซึ่งไม่รู้ว่าจะดูทรมานจิตใจมากน้อยแค่ไหนแต่พอจะมีเค้าอยู่บ้างเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนที่สร้างความน่ากลัวด้วยเครื่องในออกมาวางกับพื้นจากศพขาดครึ่ง และอีกศพที่นอนอยู่ในรถที่เหมือนจะไม่เท่าไรแต่มีตาห้อยออกมานอกเบ้า แม้จะมีความเป็นทุนต่ำอย่างเห็นได้ชัด แต่ความสะอิดสะเอียนมักเป็นของคู่กันเสมอในเรื่องความสมจริงที่ต่อให้ดูหลอกยังไงแค่ขอความวิปริตก็ได้เต็มร้อยทั้งร้อย หลังจากรถชนและมีคนตายย่อมมีคนเก็บศพที่มีหน้าที่รวบรวมชิ้นส่วนเก็บซากที่เหลือให้เข้าที่เข้าทาง หนึ่งในเจ้าหน้าที่เก็บศพคือโรเบิร์ต ชมัดต์เก้ หรือที่เรียกกันว่าร็อบ (Bernd Daktari Lorenz) ที่มีจุดเด่นตรงที่แอบเก็บชิ้นส่วนต่างๆจากศพเอาไว้เป็นที่ระลึกในขวดโหลแก้วที่วางบนชั้นระเบียงอย่างเป็นระเบียบ กระทั่งวันหนึ่งได้ไปเก็บศพในน้ำและเกิดคิดพิสดารขโมยศพทั้งตัวกลับบ้านเพื่อนำมาสำเร็จความปรารถนาของตนเอง


คิดอยู่นะว่าคนปกติใครจะกล้าเก็บอวัยวะร่างกายของคนไว้ในบ้านทั้งที่น่าสะอิดสะเอียนและชวนแหวะขนาดนั้น แถมยังหนักหนาขนาดที่ว่าถูกใจศพ(กระมั้ง)ถึงได้นำกลับบ้านมาด้วย แต่เรื่องของเรื่องเข้าแผนของร็อบที่ถูกใช้ให้ไปเก็บศพคนเดียว พอไม่เหลือใครให้เห็นผิดสังเกตจึงขโมยทั้งตัวแทนที่จะหยิบชิ้นเล็กชิ้นน้อยอย่างทุกที่ ถึงจะอย่างงั้นความไม่จิตปกติไม่ได้เกิดขึ้นกับร็อบคนเดียวเท่านั้น เนื่องจากยังมีเบ็ตตี้ (Beatrice Manowski) แฟนของเขาที่เหมือนจะเสพสุขในการดองชิ้นส่วนอวัยวะคนไม่ต่างกับได้ของขวัญชิ้นใหม่ที่ไม่ว่าอะไรสักคำแต่ยังชื่นชมร็อบที่หาของขวัญเหล่านี้มาได้ ทว่าชิ้นส่วนเครื่องในหรืออวัยวะไม่ได้ถึงกับประทับใจเท่าการนำศพทั้งร่างมาด้วย พอมาถึงจุดนี้เริ่มรู้สึกจะไปกันใหญ่ที่เห็นความไม่ปกติจิตทั้งสองที่นึกพิศวาสกับศพได้เยี่ยงไร ถ้าเป็นศพใหม่ๆที่สภาพดูดีหน่อยยังพอเข้าใจ แต่นี่สภาพเน่าเปื่อยไม่หลงเหลืออารมณ์สนองตัณหาเสียด้วยซ้ำ

ต้องยอมรับความสยองในช่วงแรก แต่หลังจากได้ศพกลับบ้านให้แฟนนี่คือกลายเป็นหนังแหวะทันที โดยเฉพาะการทำอะไรศพเป็นอะไรที่เกินบรรยายจริงๆ ทำเหมือนกับว่าศพไม่ใช่ศพอย่างงั้นแหละ(ยังคิดว่าเป็นของกินหรือยังไงถึงได้เลียได้ใกล้ชิดขนาดนั้นแบบดูดดื่มดูดลูกตา!) เป็นความวิปริตที่บอกได้ยากจริงๆว่าอะไรคือแรงขับดันให้ทำขึ้นมาได้ คือหลังจากได้ศพเข้าบ้านไม่นานก็เหมือนต้องมนต์เสน่ห์พาขึ้นเตียงร่วมเซ็กซ์แบบ 2 คน 1 ศพ ซึ่งการจะมีอะไรกับศพเป็นเรื่องน่าฉงนใจเพราะอวัยวะเพศไม่แข็งตัวอยู่แล้ว แต่ปัญหาแก้ได้ด้วยการตัดท่อนไม้ที่มีขนาดพอเหมาะมาปักตรงหว่างขาพร้อมใส่ถุงยางอย่างดี (การใส่ถุงยางเป็นเรื่องที่ดีในการป้องกัน แต่เดี๋ยวนะ! การมีอะไรกับศพที่เน่าเปื่อยแบบเนื้อแนบเนื้อแถมมีเลียใกล้ชิดขนาดนี้จะบอกว่าสะอาดแล้วคงไม่น่าใช่) หลังจากนั้นจะเป็นการเสพความสุขทางเพศที่ไม่ใช่แค่ผิดปกติแต่บอกถึงความเมาหรืออาการเคลิ้มจากภาพที่สับสนหรือเหม่อลอย


แน่นอนว่าหนังแรงเรื่องศีลธรรมความเป็นคนที่มีอะไรกับศพอย่างเพลิดเพลิน แต่อาการดังกล่าวมีที่มาจากโรค Necrophilia ที่มักปรากฎกับผู้มีอารมณ์ทางเพศกับศพเท่านั้น โดยปมจะโยงเข้าถึงร็อบที่เป็นตัวหลักของเรื่องที่นั่งฟังการบรรยายของโรคนี้ที่พบต้นต่อมาจากความกลัวที่สามารถเอาชนะได้ ทว่าการชนะความกลัวกลายเป็นดาบสองคมที่ส่งผลให้เกิดอาการรักหรือชอบสิ่งนั้นจากที่เคยเกลียดหรือหวาดกลัว เช่น การกลัวแมงมุมที่มีการอธิบายการเอาชนะการนำไปวางบนมือของผู้ป่วยแล้วพบว่าหลังจากนั้นเริ่มไม่กลัวแมงมุมอีกต่อไป ในทางกลับกันเริ่มหลงใหลในตัวแมงมุมขนาดที่ยึดเป็นสัตว์เลี้ยงไปเลย สำหรับร็อบเป็นอะไรที่ผิดกันตรงที่มีส่วนของความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้อง ในฉากนี้จะเห็นการย้อนอดีตผ่านการมองของร็อบที่น่าจะเป็นสมัยเด็ก(ในเรื่องไม่ได้บอกเลยว่าเป็นช่วงวัยไหน)กับการฆ่ากระต่ายตัวหนึ่งอย่างโหดร้ายทารุณ เริ่มตั้งแต่แทงคอจนเลือดพุงกระฉูดก่อนจะจบลงที่จับห้อยขาเพื่อถลกหนังและควักเครื่องในออกมา สิ่งที่เกิดขึ้นอาจไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสิ่งที่ร็อบเป็น กระนั้นสิ่งที่เหมือนกันคือการชำแหละศพที่ตัดสลับกับฉากชำแหละกระต่ายที่เฉือนเครื่องในออกมาทีละชิ้นๆ

Nekromantik เป็นหนังคัลท์ที่ดูหยาบอย่างมากในการเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะปมในใจหรือประเด็นที่วางเอาไว้ก็ล้วนบอบบางแทบทั้งสิ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ตั้งใจใส่เอาไว้คืออาการทางจิตของคนที่เป็นโรค Necrophilia ที่พอจะจับจุดเป็นสาระของเรื่องนี้และให้ร็อบคือกรณีตัวอย่างของอาการนั้นว่าเป็นยังไงบ้าง น่าเสียดายที่ปมที่ให้ไว้ดูง่ายเกินไปแต่ก็โหดมากพอสมควร อีกประเด็นคือเบ็ตตี้ที่อยู่นอนร่วมกินกับร็อบด้วยรสนิยมหรืออาการชอบแบบเดียวกันนี้แหละที่มองว่าน่าสงสัยที่สุดของเรื่อง เนื่องจากเป็นตัวละครที่แย่งซีนเวลาอยู่กับศพ แต่กับศพทำไมถึงชอบแบบเดียวกับร็อบได้(น่าทึ่งตรงที่ชอบอะไรเหมือนกันทั้งที่คนธรรมดาชอบที่ไหน) ถือเป็นช่องว่างที่ไม่ได้เติมเต็ม แต่บทหนังเลือกที่จะให้เบ็ตตี้ออกไปจากชีวิตร็อบหลังจากพบว่าแฟนตัวเองตกงานเพราะมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน ในฉากนี้จะเห็นว่าเบ็ตตี้เกิดอาการเซ็งขึ้นมาทันทีเหมือนกับว่าคงไม่ได้อะไรจากร็อบอีกแล้วเพราะไม่ได้เป็นคนเก็บศพ ซึ่งเธอได้หนีออกจากชีวิตร็อบพร้อมกับศพและปล่อยให้เขาเดี่ยวดายต่อไป


ช่วงแรกเป็นการเล่าถึงความสุขกับศพ พอมาช่วงที่สองจะเริ่มมีปัญหาเข้ามา และช่วงสามจะเป็นเรื่องของร็อบที่ไม่เหลืออะไรนอกจากเขาคนเดียวกับความอ้างว้างของชีวิตที่สูญเสียสิ่งที่รักทุกสิ่ง ในช่วงสุดท้ายจะเห็นถึงชีวิตที่ไม่เหลืออะไรเลย ไม่รู้จะทำอะไรต่อไปเพราะไม่มีงานหรือคนรักเป็นแรงขับดัน เป็นห้วงเวลาที่โล่งแต่ชวนอึดอัดก็ว่าได้ อีกอย่างคือร็อบเองก็ดูจะไร้ชีวิตชีวาไม่อาจหาความสุขมาเติมเต็มได้ แม้จะหาเวลาว่างไปดูหนังก็รู้สึกน่าเบื่อหมดอารมณ์ไปความสยองขวัญที่ต่อให้คนอื่นยิ้มกับฉากเปลือยหน้าอกแต่รอบๆคนอื่นมาเป็นคู่ทำให้ชีวิตที่อกหักต้องช้ำใจเข้าไปใหญ่ หรือจะการหาโสเภณีข้างทางเพื่อแก้ขัดอารมณ์ทางเพศยังเป็นปัญหาเพราะไร้อารมณ์จนนกเขาไม่ขัน (ฉากนี้สะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ทางเพศของร็อบที่เทียบกับคนเป็นกับคนตายจะมีอารมณ์กับอย่างหลังมากกว่า) ความน่าเบื่อและชีวิตที่ว่างเปล่าทำให้ตกอยู่ในโลกที่กึ่งเป็นกึ่งตายจนไม่รู้จะอยู่ไปเพื่ออะไรเพราะหาความสุขไม่ได้ ดังนั้นบทสรุปของร็อบจึงเลือกตัดสินใจกับตัวเองด้วยการระบายอารมณ์ทางเพศกับความเจ็บปวดพร้อมกันเพื่อนำไปสู่การจบเรื่องราวให้หายจากความทุกข์เสียที

สำหรับเรื่องนี้เอาจริงๆไม่ได้รุนแรงหรือจิตตกมากมายแต่อย่างใด ซ้ำในความโหดร้ายกลายเป็นปมด้อยที่แสดงถึงความบอบบางของจิตใจ แต่ถ้าจะแรงจริงๆคือเรื่องศีลธรรมที่ถูกแล้วหรือในการนำร่างกายของคนอื่นมาใช้เป็นของเล่นเพื่อสนองความต้องการของตัวเอง สิ่งที่สอดแทรกในเรื่องไม่ใช่แค่ความผิดปกติทางจิตของร็อบกับเบ็ตตี้เท่านั้น เพราะยังมีความผิดเกี่ยวกับที่มาของศพที่ความจริงแล้วเกิดจากความประมาทของคนใช้ปืนเพื่อยิงนกแต่พลาดไปถูกคนเก็บลูกฝรั่งแล้วนำศพไปทิ้ง ซึ่งศพนั้นคือศพที่ร็อบเลือกนำกลับมาบ้าน โดยส่วนตัวมอง Nekromantik เป็นหนังที่คัลท์พอสมตัวในการเล่าเรื่องที่แทบจะไม่ได้พูดกันเลยเพราะใช้ภาพเป็นตัวบอกอารมณ์ล้วนๆ ส่วนปมประเด็นถูกวางไว้อย่างเรียบง่าย ไม่ได้ซับซ้อนเกินเข้าใจแต่ก็ดูง่ายเกินไปที่จะบอกว่าใช่ ส่วนศพที่นำมาใช้ในเรื่องอาจไม่ค่อยสมจริงแต่ความแหวะจากความเน่าเปื่อยทำให้เห็นถึงความน่าขยะแขยงเต็มพิกัดจนเชื่อว่าหลายคนต้องรู้สึกสะอิดสะเอียนในฉากร่วมรักของทั้งสาม ด้วยความแหวะที่มีให้ตลอดทั้งเรื่องจนหามุมที่สวยงามไม่ได้ กระนั้นสิ่งหนึ่งที่มาเหมือนไม่เข้าแต่เข้ากับในการเล่าเรื่องคือดนตรีประกอบที่ไพเราะงดงามซะงั้น


แต่ฉากที่มองว่าน่าคลื่นไส้ที่สุดน่าจะเป็นการตัดสลับไปมาระหว่างฉากกินข้าวกับศพที่ห้อยติดกำแพงที่มีคราบคาวความเน่าเปื่อยหยุดลงจานที่ใช้เป็นภาชนะรองพื้น เป็นการตัดสลับไปมาระหว่างการกินกับศพที่กำลังสลายตามกาลเวลาอย่างน่าทรมานจิตใจเสียนี่กระไร แน่นอนว่าเรื่องนี้ไม่เหมาะกับทุกคนแต่ถ้าคิดว่ารับความคัลท์ที่แสนน่าผิดแปลกพิสดารนี้ได้ก็ไม่ใช่ปัญหาถ้าจะต่อกันอีกสักภาคใน  Nekromantik 2 (1991) ที่เล่าเรื่องต่อจากตอนจบกับคนที่มีอาการแบบเดียวกับร็อบที่นึกพิศวาสกับศพไม่ต่างกัน แต่ครั้งนี้จะต่างกันที่เป็นผู้หญิงและเพิ่มมิติตัวละครมากขึ้น ฉะนั้นถ้าผิดหวังความหยาบของภาคนี้ที่เล่าเรื่องง่ายไปหน่อยอาจพอให้อภัยถ้าจะลองภาคต่อที่น่าขนลุกชวนยี้กับความสยองและความคัลท์ที่มากขึ้นกว่าเดิม

รูปภาพของฉัน
เกิดปี 2538 (1995) แค่คนที่เรียนจบสาธารณสุขศาสตร์ แต่ชอบดูหนังเป็นชีวิตจิตใจ ที่เขียนรีวิวเพราะอยากแบ่งปันความรู้สึกที่ตัวเองมีให้อ่าน และกำลังทำช่อง YouTube เกี่ยวกับหนังสือ(การ์ตูนเป็นหลัก)